จรรยาบรรณผู้แต่ง

1. ผลงานของผู้แต่งต้องเป็นผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์นั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอ เพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารฉบับอื่น

2. ผู้แต่งต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมา ทุกส่วนของเนื้อหาหากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง ผู้นิพนธ์ต้องมีการอ้างอิงเสมอและมีการจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ

3. ผู้แต่งต้องเขียนบทความวิจัย การอ้างอิงให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน "คำแนะนำผู้เขียน”

4. ผู้แต่งหลักและผู้แต่งร่วมทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง

5. ผู้แต่งสามารถระบุผู้สนับสนุนหรือแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ได้ (ถ้ามี)

6. ผู้แต่งต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนหรือความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับวารสารหรือผู้ประเมินที่เกี่ยวข้องกับบทความ (ถ้ามี)

7. ผู้แต่งต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย โดยไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

8. ผู้แต่งแสดงผลการรับรองการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย (ถ้ามี)

จรรยาบรรณผู้ประเมิน

1. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ หากไม่เชี่ยวชาญตรงกับเนื้อหาที่บรรณาธิการส่งไปให้ควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบเพื่อพิจารณาผู้ประเมินใหม่ ในการพิจารณาบทความควรพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความซึ่งจะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพการวิเคราะห์และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ

2. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับโดย หากทำไม่ได้ให้แจ้งบรรณาธิการ และไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนที่ส่งมาเพื่อพิจารณา แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงของเวลาของการประเมินบทความ

3. ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ และปฏิเสธการประเมินบทความหลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสารหากพบว่าตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้แต่ง เช่น เป็นที่ปรึกษาโครงการ หรือรู้จักผู้แต่งเป็นการส่วนตัวหรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถได้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้

4. หากพบว่าเนื้อหาสำคัญยังขาดการอ้างอิงผู้ประเมินบทความต้องเสนอแนะโดยระบุผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้แต่งไม่ได้อ้างถึงเข้าไปในการประเมินบทความด้วย และหากพบว่ามีส่วนใดของบทความ ที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย

5. ในเนื้อหาของบทความ ถ้าหากมีการทดลองเกี่ยวกับคนหรือสัตว์ ผู้ประเมินต้องตรวจสอบระเบียบวิธีการวิจัยว่าสอดคล้องกับจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนและสัตว์หรือไม่ด้วย

6. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่กำหนด


จรรยาบรรณบรรณาธิการ

1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความที่ส่งมา โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร ซึ่งจะต้องตรงกับที่ได้แจ้งไว้ เพื่อเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์

2. บรรณาธิการต้องใช้กระบวนการทำงานที่ไม่เปิดเผยข้อมูล โดยใช้วิธี double blind ของผู้แต่ง และผู้ประเมิน แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

3. บรรณาธิการต้องตรวจสอบคุณภาพ และตัดสินใจในการคัดเลือกบทความโดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายเป็นสำคัญ โดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้แต่งในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้แต่ง

4. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว จะดำเนินการตอบรับแจ้งให้ผู้แต่งทราบว่าจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับใด

5. บรรณาธิการต้องตรวจสอบการยืนยันการไม่ตีพิมพ์ซ้ำของผู้แต่ง และตรวจสอบจากวารสารอื่น เพื่อไม่ให้มีการตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว

6. หากมีบทความที่มีข้อสงสัยต้องไม่ปฏิเสธบทความเพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจ บรรณาธิการต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ข้อสงสัยนั้นๆ ก่อน

7. บรรณาธิการต้องไม่มีความเกี่ยวข้องในบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้แต่งหรือผู้ประเมินไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง

8. บรรณาธิการต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความและผลประเมินของผู้ประเมิน รวมถึงไม่ปิดกั้นข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้้ประเมินและผู้แต่ง

9. บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินทันทีเมื่อพบว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และติดต่อผู้แต่งหลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ "ตอบรับ" หรือ "ปฏิเสธ" การตีพิมพ์บทความนั้นๆ เพื่อรักษามาตรฐานของวารสาร